อาหารทางภาคเหนือ

แกงโฮะ

แกงโฮะ คำว่า “โฮะ” แปลว่า รวม คือการนำเอาอาหารหลายๆ อย่างมารวมกัน ในสมัยก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารที่เหลือหลายๆ อย่างรวมกัน โดยอาจมีการปรุงรสตามใจชอบ หรือ เติมบางอย่าง เช่น วุ้นเส้น หน่อไม้ และแต่งกลิ่นโดยใส่ใบมะกรูด ตะไคร้ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 490) ปัจจุบัน นิยมใช้ของสดในการปรุง และใช้แกงฮังเลเป็นเครื่องปรุง (ดีกิจ กัณทะกาลังค์, สัมภาษณ์, 20 มิถุนายน 2550)


ส่วนผสม
1. วุ้นเส้น 100 กรัม
2. หน่อไม้ดอง 50 กรัม
3. ถั่วฝักยาว20 กรัม
4. มะเขือพวง20 กรัม
5. มะเขือเปราะ20 กรัม
6. ตำลึง10 กรัม
7. พริกขี้หนู5 เม็ด
8. ตะไคร้หั่น 1 ต้น
9. ใบมะกรูด 5 ใบ
10. ต้นหอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ
11. ผักชีซอย 1 ช้อนโต๊ะ
12. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
13. กะทิ 2 ช้อนโต๊ะ
14. แกงฮังเล 150 กรัม
15. ผงฮังเล 1/2 ช้อนชา


เครื่องแกง
1. พริกแห้ง 7 เม็ด
2. พริกขี้หนูแห้ง 4 เม็ด
3. หอมแดง3 หัว
4. กระเทียม 10 กลีบ
5. ตะไคร้ซอย 2 ช้อนโต๊ะ
6. ข่าซอย 1/2 ช้อนโต๊ะ
7. กะปิหยาบ 1/2 ช้อนโต๊ะ
8. เกลือ 1 ช้อนชา


วิธีทำ

1. ล้างหมู ไก่ หั่นชิ้นบาง ล้างมะเขือพวง มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว และมะเขือยาว หั่นถั่วฝักยาวเป็นท่อน ½ นิ้ว แล้วจึงผ่าครึ่ง มะเขือเปราะผ่าสี่
2. ใส่น้ำมันในกระทะ ตั้งไฟให้ร้อน ใส่เครื่องแกงผัดให้หอม ใส่หมู ไก่ ผัดให้เข้ากัน ใส่หน่อไม้เปรี้ยว ใช้ไฟอ่อน เคี่ยวสักครู่ ใส่วุ้นเส้นผัดให้เข้ากัน
3. ใส่มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว มะเขือยาว มะเขือพวง คนให้เข้ากัน ใส่ตำลึง ผัดต่อ ใส่ผักชี ต้นหอม ผักชีฝรั่ง ผัดให้ทั่ว
4. จัดใส่จาน โรยใบสะระแหน่ วางพริกขี้หนูทอดด้านข้าง รับประทานกับใบโหระพา แตงกวาหั่นเป็นแว่น



คั่วจิ๊มส้ม

คั่วจิ๊นส้ม หรือคั่วแหนม หรือผัดแหนม นิยมผัดใส่ไข่ไก่ และวุ้นเส้น ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ มักนิยมผัดใส่บ่าลิดไม้ หรือผัดแหนมใส่ฝักเพกาอ่อนย่างไฟ ซึ่งนำลอกเปลือกออก และหั่นย่อย (รัตนา ไชยนันท์, สัมภาษณ์, 28 มิถุนยน 2550; รัตนา พรหมพิชัย, 1999, หน้า 647)


ส่วนผสม
1.จิ๊นส้ม 100กรัม
2.วุ้นเส้น 1/2ถ้วย
3.ไข่ไก่ 2ฟอง
4.หอมหัวใหญ่1หัว
5.ต้นหอม2ต้น
6.พริกชี้ฟ้าแดง 1เม็ด
7.กระเทียมดอง 2หัว
8.กระเทียมสับ1ช้อนโต๊ะ
9.น้ำมันพืช 2ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ

1. เจียวกระเทียมกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่แหนม ลงผัด
2. ใส่หอมหัวใหญ่ ผัดให้เข้ากัน
3. ใส่วุ้นเส้น ผัดจนวุ้นเส้นสุก
4. ใส่ไข่ไก่ ผัดให้เข้ากัน
5. ใส่พริกชี้ฟ้า ต้นหอม มะเขือเทศ และกระเทียมดอง ผัดให้เข้ากัน พอสุก ปิดไฟ




น้ำปู



น้ำปู อ่านว่า น้ำปู๋ เป็นอาหารดั้งเดิมของชาวล้านนา ใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารบางอย่าง เช่นเดียวกับกะปิ โดยมากจะทำน้ำปูในช่วงฤดูฝน หรือฤดูทำนา ชาวล้านนา นิยมนำน้ำปูมาตำน้ำพริก เรียกว่า น้ำพริกน้ำปู ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร เช่น ยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ตำส้มโอ ตำกระท้อน (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 3247)

ส่วนผสม
1.ปูนา3กิโลกรัม
2.ใบตะไคร้ซอย2ต้น
3.ใบขมิ้นซอย1ถ้วย
4.เกลือเม็ด 1ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. โขลกใบขมิ้นและใบตะไคร้
2. ล้างปูนาให้สะอาด โขลกรวมกันให้ละเอียด
3. นำปูที่โขลกแล้วละลายน้ำ กรองเอาแต่น้ำปู
4. เคี่ยวน้ำปูโดยใช้ไฟอ่อน ประมาณ 8 ชั่วโมง จะได้น้ำปูข้นเหนียว เป็นสีดำ

จอผักกาด

จอผักกาด เป็นตำรับอาหารที่ใช้ผักกาดกวางตุ้งที่กำลังออกดอก หรือเรียกว่า ผักกาดจ้อน หรือผักกาดดอก ซึ่งปรุงด้วย เกลือ กะปิ ปลาร้าหรือกะปิ ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียกหรือมะขามสด ใส่กระดูกหมูด้วยก็ได้ ซึ่งบางแห่งนิยมใส่น้ำอ้อย ลงไปด้วย บางสูตรใส่ถั่วเน่าแข็บ หรือถั่วเน่าแผ่นย่างไฟ นิยมรับประทานกับพริกแห้งทอด ตัดเป็นท่อน โรยหน้าแกง หรือรับประทานต่างหาก แล้วแต่ชอบ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1790 ; อัมพร โมฬีพันธ์, 2550, สัมภาษณ์

ส่วนผสม
1.ผักกาดกวางตุ้ง1กิโลกรัม
2.ซี่โครงหมู400กรัม
3.หอมแดง5หัว
4.กระเทียม10กลีบ
5.ถั่วเน่าแข็บย่างไฟ2แผ่น
6.กะปิ2ช้อนโต๊ะ
7.น้ำมะขามเปียก3ช้อนโต๊ะ
8.เกลือป่น1ช้อนชา
9.น้ำมันพืช2ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. ต้มน้ำเปล่า พอเดือด ใส่ซี่โครงหมูสับ ต้มจนกระทั่งหมูนุ่ม
2. โขลกกระเทียม หอมแดง กะปิ เกลือ รวมกันให้ละเอียด ใส่ลงในหม้อต้มซี่โครงหมู
3. พอเดือด ใส่ผักกวางตุ้งเด็ดเป็นท่อน
4. พอผักนุ่ม ใส่ถั่วเน่าแผ่นโขลกละเอียด
5. ใส่น้ำมะขามเปียก คนให้ทั่ว พอเดือด ปิดไฟ
6. ตั้งกระทะใส่น้ำมัน พอร้อน ใส่พริกขี้หนูแห้งลงทอด พอกรอบ ตักขึ้น ใส่กระเทียมสับ เจียวให้เหลือง เททั้งกระเทียมเจียวและน้ำมัน ใส่หม้อจอผักกาด (จ่าว) คนให้เข้ากัน

เจียวผักโขม


เจียวผักโขม หรือ เจี๋ยวผักหม บางสูตรนิยมใส่ไข่เป็ดหรือไข่ไก่ ตีให้กระจาย ใส่ลงไปในน้ำแกงขณะเดือดด้วย บางสูตรนิยมใส่เฉพาะปลาร้าต้มสุก กินกับพริกหนุ่มสด หรือพริกหนุ่มย่างไฟ แล้วแกะเปลือกใส่ลงไปทั้งเม็ด (ศรีวรรณ จำรัส, สัมภาษณ์, 14 มิถุนายน 2550)

ส่วนผสม
1.ผักโขม100กรัม
2.กระเทียมสับ1ช้อนโต๊ะ
3.หอมแดงซอย1ช้อนโต๊ะ
4.กะปิ1/2ช้อนโต๊ะ
5.ปลาร้าต้มสุก1/2ช้อนโต๊ะ
6.เกลือ1/4ช้อนชา


วิธีทำ

1. ต้มน้ำ พอเดือด ใส่กะปิ น้ำปลาร้า เกลือ กระเทียมสับ และหอมแดงซอย
2. พอน้ำเดือด ใส่ผักโขม คนให้เข้ากัน
3. พอผักสุก ปิดไฟ

ยำปลาจ่อม


ปลาจ่อม คือปลาตัวเล็ก นิยมใช้ปลาซิว ที่ชาวล้านนาเรียกว่า ปลาซิวอ้าว เป็นส่วนผสมหลัก เมื่อดองแล้ว นำมาประกอบอาหารด้วยวิธีการยำ หรือรับประทานกับมะม่วงดิบ ส้มโอ มะละกอดิบ (นงเยาว์ วิริยะ, สัมภาษณ์, 2 กรกฎาคม 2550)

ส่วนผสม
1.ปลาซิว 500กรัม
2.ดินประสิว 1ก้อน
3.เกลือเม็ด1ช้อนโต๊ะ
4.ตะไคร้ซอย2ช้อนโต๊ะ
5.หอมแดงซอย10หัว
6.กระเทียมซอย10กลีบ
7.พริกแห้งย่างไฟ10เม็ด
8.มะเขือเปราะซอย5ลูก
9.ผักชีซอย1ช้อนโต๊ะ
10.ต้นหอมซอย1ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. วิธีการดองปลา นำปลาซิวมาล้างให้สะอาด หมักด้วยเกลือ และดินประสิว
2. บรรจุลงไปในขวดแก้วที่แห้ง และสะอาด หมักไว้ประมาณ 15 วัน ปิดฝาขวดให้สนิท
3. วิธีการยำ ใส่หอมแดง ตะไคร้ มะเขือเปราะ และกระเทียมซอย ลงไปใสชามปลาจ่อม คลุกเคล้าเบาๆ ให้เข้ากัน
4. ขยี้พริกแห้ง ใส่ลงไป ห้ามโขลก คลุกเคล้าให้เข้ากัน
5. โรยด้วยผักชีต้นหอม

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

0 Response to "อาหารทางภาคเหนือ"

แสดงความคิดเห็น

ปฏิทิน

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้