รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

คู่ค้าที่จับคู่แลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจสามารถจำแนกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ ธุรกิจ รัฐบาล และผู้บริโภคหรือประชาชน หากเราจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามลักษณะของคู่ค้าจะได้ส่วนผสม 6 ประเภทที่ไม่ซ้ำกัน

1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B2B) คือ รูปแบบการซื้อขายสินค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ เป็นการซื้อขายทีละปริมาณมากๆ มีมูลค่าการซื้อขายแต่ละครั้งเป็นจำนวนมากเป็นการค้าส่ง เช่นผู้ผลิตรถยนต์สั่งวัตถุดิบจากโรงงานที่เป็นผู้จัดจำหน่าย



2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิสก์ประเภทธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B2G) คือ รูปแบบการจำหน่ายสินค้าและบริการโดยตรงจากผู้ค้ากับรัฐบาล ตัวอย่างที่สำคัญของระบบนี้ได้แก่การชำระภาษีผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th), การจดทะเบียนธุรกิจออนไลน์ (www.dbd.go.th), การประมูลขายสินค้าให้กับภาครัฐ (e-Auction) เป็นต้น

3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer หรือ B2C) คือรูปแบบการจำหน่ายสินค้าหรือบริการโดยตรงจากผู้ค้าหรือผู้ผลิตให้กับผู้บริโภค ส่วนใหญ่จะเป็นการค้าปลีก ซึ่งผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ได้ แม้จะมีมูลค่าตลาดเล็กกว่าประเภทแรก แต่ช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถฉกฉวยโอกาสในการต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้ เช่น เว็บไซต์ amazon.com



4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับรัฐบาล (Government to Government หรือ G2G) คือ รูปแบบการทำงานของหน่วยราชการรัฐบาลที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยแต่ก่อนใช้กระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่ววยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน (Government Data Exchange) ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม

5. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับประชาชน (Government to Consumer/Citizen หรือ G2C) คือ รูปแบบการทำธุรกรรมระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน อาทิ การคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยที่ประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer หรือ C2C) คือ รูปแบบการจำหน่ายสินค้าหรือบริการระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสอง เป็นต้น




ที่มา
www.sme.go.th/
www.numsai.com

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

0 Response to "รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์"

แสดงความคิดเห็น

ปฏิทิน

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้