สถานที่จัดงานปีใหม่

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ความสัมพันธ์ของระบบการค้า E-Commerce

ความสัมพันธ์ของระบบการค้าอิเล็กทรอนิค E-Commerce
การดำเนินการธุระกิจการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ E-Commerce จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ E-Commerce มีดังนี้


ISP INTERNET SERVICE PROVIDER
องค์กรผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทาง Internet ให้กับลูกค้า ซึ่งอาจเป็นร้านค้าหรือผู้ใช้ Internet ทั่วไป โดย ISP รับและจดทะเบียน Domain หรือ จะจัดตั้ง Virtual Mall เพื่อให้ร้านค้านำ Home Pageมาฝากเพื่อขายสินค้า

BANK
ทำหน้าที่เป็น Payment Gateway คือตรวจสอบ และอนุมัติวงเงินของผู้ถือบัตร เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า และ/หรือบริการ ทาง Internetผ่านระบบของธนาคาร และธนาคารจะโอนเงินค่าสินค้า และหรือบริการนั้น ๆ เข้าบัญชีของร้านค้า สมาชิก

TPSP TRANSACTION PROCESSING SERVICE PROVIDER
องค์กรผู้บริหาร และพัฒนาโปรแกรม การประมวลผลการชำระค่าสินค้า และ/หรือบริการ ผ่าน Internet ให้กับร้านค้า หรือ ISPต่าง ๆ ผ่าน Gateway โดย TPSPสามารถต่อเชื่อมระบบให้กับทุก ๆ ร้านค้าหรือทุก ๆ ISP และทำการ Internetระบบชำระเงินผ่าน Gateway ของธนาคาร

CUSTOMER
ลูกค้าสามารถชำระค่าสินค้า และ/หรือบริการได้ด้วย
ท บัตรเครดิต
ท บัตรเครดิตวีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ดจากทุกสถาบันการเงินทั่วโลก
ท ระบบหักบัญชีเงินฝากของธนาคาร (Direct Debit)

MERCHANT
ร้านค้าที่ต้องการขายสินค้าและ/หรือบริการผ่านระบบ Internet โดยเปิด Home Page บนSite ของตนเอง หรือ ฝาก Home Pageไว้กับ Web Site หรือ Virtual Mall ต่าง ๆ เพื่อขายสินค้าและหรือบริการผ่านระบบของธนาคาร ร้านค้าจะต้องเปิดบัญชีและสมัครเป็นร้านค้าสมาชิก E-Commerceกับธนาคารก่อน

ขั้นตอนการเปิดร้านเพื่อดำเนินการค้า E-Commerce



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

คู่ค้าที่จับคู่แลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจสามารถจำแนกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ ธุรกิจ รัฐบาล และผู้บริโภคหรือประชาชน หากเราจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามลักษณะของคู่ค้าจะได้ส่วนผสม 6 ประเภทที่ไม่ซ้ำกัน

1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B2B) คือ รูปแบบการซื้อขายสินค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ เป็นการซื้อขายทีละปริมาณมากๆ มีมูลค่าการซื้อขายแต่ละครั้งเป็นจำนวนมากเป็นการค้าส่ง เช่นผู้ผลิตรถยนต์สั่งวัตถุดิบจากโรงงานที่เป็นผู้จัดจำหน่าย



2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิสก์ประเภทธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B2G) คือ รูปแบบการจำหน่ายสินค้าและบริการโดยตรงจากผู้ค้ากับรัฐบาล ตัวอย่างที่สำคัญของระบบนี้ได้แก่การชำระภาษีผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th), การจดทะเบียนธุรกิจออนไลน์ (www.dbd.go.th), การประมูลขายสินค้าให้กับภาครัฐ (e-Auction) เป็นต้น

3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer หรือ B2C) คือรูปแบบการจำหน่ายสินค้าหรือบริการโดยตรงจากผู้ค้าหรือผู้ผลิตให้กับผู้บริโภค ส่วนใหญ่จะเป็นการค้าปลีก ซึ่งผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ได้ แม้จะมีมูลค่าตลาดเล็กกว่าประเภทแรก แต่ช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถฉกฉวยโอกาสในการต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้ เช่น เว็บไซต์ amazon.com



4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับรัฐบาล (Government to Government หรือ G2G) คือ รูปแบบการทำงานของหน่วยราชการรัฐบาลที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยแต่ก่อนใช้กระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่ววยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน (Government Data Exchange) ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม

5. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับประชาชน (Government to Consumer/Citizen หรือ G2C) คือ รูปแบบการทำธุรกรรมระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน อาทิ การคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยที่ประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer หรือ C2C) คือ รูปแบบการจำหน่ายสินค้าหรือบริการระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสอง เป็นต้น




ที่มา
www.sme.go.th/
www.numsai.com

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

e-Commerce คืออะไร



- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์" (ECRC Thailand,1999)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขายหรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์" (WTO, 1998)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ" (OECD, 1997)



- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวลและการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่ายหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, ใบตราส่ง, การประมูล, การออกแบบและวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อ จัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่นสินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้านกฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน)" (European Union, 1997)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หมายถึง ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กนิกส์เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆและครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่างๆที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร" (ESCAP, 1998)

ที่มา

http://images.google.co.th/

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

วันครู



ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาต ิ


ประวัติความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลและให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" จากแนวความคิดนี้ กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี"วันครู"เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น"วันครู"โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือหนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ







ดอกไม้วันครู คือ "ดอกกล้วยไม้" โดยพิจารณาเห็นว่ามีคุณลักษณะของดอกกล้วยไม้ มีลักษณะและความหมายคล้ายคลึงกับ สภาพชีวิตครู นั้นคือ กว่ากล้วยไม้แต่ละช่อจะผลิตดอกออกผล ให้เราชื่นชมได้ ต้องใช้เวลานานและต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่น้อย เช่นเดียกับครูแต่ละคนกว่าจะสั่งสอนเคี่ยวเข็นศิษย์คนแล้วคนเล่าให้มีความเจริญงอกงามก้าวหน้าในชีวิตได้ ก็ต้องใช้เวลาอบรมสั่งสอนมิใช่น้อยเช่นกัน



กิจกรรมวันครู
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมทางศาสนา

2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น








คำปฏิญาณตนของครู มีดังนี้

ข้อ ๑. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ ๒. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ ๓. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม







ที่มา
http://images.google.co.th/
http://images.google.co.th/imgres?

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

สวัสดีปีใหม่ 2553

9 สถานที่ยอดฮิตฉลองปีใหม่

1. แยกราชประสงค์
บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริเป็นสถานที่สองที่อยากจะแนะนำให้ไปเสียเหลือเกิน ตั้งแต่แยกปทุมวันถึงชิดลม และตั้งแต่แยกลุมพินิถึงสะพานเฉลิมโลก (ประตูน้ำ) ที่นี่คุณจะต้องตะลึงกับโคมไฟที่ประดับอยู่สองข้างทา ง ซึ่งทำให้ได้ลื่นไอของเทศกาลเป็นที่สุด ดูเจริญตาเจริญใจไม่น้อย

2. ลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์

กลายเป็นสถานที่ยอดฮิตสำหรับใครที่มองหาแหล่งเที่ยวช่วงปีใหม่ เพราะที่นี่มีการจัดงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แท บทุกปี มีทั้งการประดับไฟสวยงามในบริเวณรอบๆ รวมถึงการปิดถนนเพื่อให้ประชาชนได้มาเฉลิมฉลองกันเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ยังไม่รวมถึงกิจกรรมบันเทิงเริงใจที่ทางภาครัฐและเอก ชนพร้อมใจกันจัดให้อีก เรียกว่าที่นี่คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม!

3. ไหว้พระขอพรเสริมสิริมงคล 9 พระอารามหลวง
- วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
- วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
- วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
- วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
- วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
- วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
- วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
- วัดบวรนิเวศวิหาร
- วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร


4. สะพานพระราม 8

ต้องบอกว่าไม่ไปเสียดายแย่ ปีหนึ่งมีแค่หนเดียวเท่านั้นที่จะได้ชมความสวยงามของ สะพานพระราม 8 เพราะที่นี่มีการจัดแสดงแสง สี เสียง ประกอบพลุ ดอกไม้ไฟ คุณๆ จะได้เห็นความสวยงามของพลุดอกแล้วดอกเล่าที่จุดขึ้นฟ้าส่องประกายสวยงาม เปรียบดังชีวิตในช่วงปีใหม่ที่จะมาถึงให้ลุกโชติช่วง ชัชวาลกันเลย

5. สนามหลวง
แสงไฟสวยๆ บรรยากาศรอบพระราชวัง และ วัดพระแก้ว

6. สถานบันเทิง
เช่น ถนนข้าวสาร, RCA, ผับโปรดของคุณ


7. ภัตราคารบนดาดฟ้าตึกสูง

เช่น ตึกใบหยก, The Roof Siam @ Siam , The Dome at State Tower

8. ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
เช่น ล่องเรือริมฝั่งแม่น้ำ, สะพานพระราม8, ภัทราวดีเธียร์เตอร์

9. บ้าน

สำหรับคนที่เบื่อการเดินทางในช่วงเทศกาลอย่างนี้ ไปทางไหนก็มีแต่รถติด คนเยอะ จอแจอึดอัด การฉลองปีใหม่ที่บ้านก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกจากจะสะดวกสบายแล้วยังเป็นการสร้างความสุข และความผูกพันกันภายในครอบครัวอีกด้วย พร้อมกิจกรรมหลากหลายตั้งแต่การทำอาหารรับประทานกัน นั่งพูดคุยถึงเรื่องราวที่ผ่านมาในหนึ่งปี. ร้องดาราโอเกะ หรือจะดริ้งก์กันนิดหน่อยพอเป็นกระสายก็ไม่ผิดกฎหมาย แต่อย่างใดแถมยังถูกต้องกับสโลแกนที่ว่า “เมาไม่ขับ” อีกต่างหาก

ที่มา:http://www.bloggang.com

http://www.konmun.com/Variety/9-id12034.aspx

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

วิถีชีวิตของคนเหนือ

คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่าง สินค้ามีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว” ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้

คนไทยภาคเหนือนิยมปลูกบ้านอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ ๆ เรื่อยไปตามแม่น้ำ ลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุนโล่ง เป็นที่เก็บของเครื่องมือทำเกษตร และเป็นที่ทำงานหรือพักผ่อนยามว่างได้ด้วย บ้านของชาวเหนือนิยมมุงกระเบื้องหรือชาวบ้านเรียกว่าดินขอ หรือบางครั้งก็มุงด้วยแผ่นไม้สักซึ่งทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ แต่โตกว่าแผ่นกระเบื้อง แผ่นไม้สักนี้จะทนแดดทนฝน ถ้าคัดเลือกไม้อย่างดีจะอยู่ได้เกิน 50 ปีขึ้นไปเลยทีเดียว

ถัดจากบ้านก็จะเป็นยุ้งข้าวขนาดใหญ่เล็กตามฐานะ นอกจากนั้นก็จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย ม้า ถัดบ้านก็เป็นสวนผลไม้ซึ่งรวมถึงพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารด้วย

ชาวล้านนามีลักษณะเหมือนคนไทยทั่วไป แต่เป็นเชื้อสายไทยยวน หรือโยนก คนล้านนาเองเรียกคนกลุ่มเดียวกันว่า “คนเมือง” ลักษณะเด่นกว่าคนไทยกลุ่มอื่นคือ ผิวค่อนข้างขาว รูปร่างสันทัดไม่สูง ไม่เตี้ยเกินไป ส่วนใหญ่รูปร่างผอมบาง มีภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า “คำเมือง” ภาษาไทยเหนือมีระบบตัวอักษรบันทึกที่เรียกว่า “อักษรล้านนา” บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา คัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายและความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อักษรล้านนานี้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับอักษรพ่อขุนรามคำแหง หรืออาจเก่ากว่านั้นอีก


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

อาชีพของคนเหนือ

ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย

ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ

นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น





งานแกะสลัก


ทำเครื่องเงิน


ที่มา
http://images.google.co.th/imgres?

http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ภาษาทางภาคเหนือ


คำเมือง (
กำเมือง; คำหรือกำ แปลว่า ภาษา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ภาษาถิ่นพายัพ" เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของ จังหวัดตาก และ เพชรบูรณ์อีกด้วย

นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของ
คนไทยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย

ภาษาคำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัด
เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน(มีเสียงเอือะ และเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป๊นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)
คนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียง
เมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์

คำเมืองมี
ไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้ คู่กับ ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่อักษรมอญใช้เป็นต้นแบบ





  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ชนเผ่าพื้นเมืองทางภาคเหนือ

แม้ว

แม้วเป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศจีนและประเทศต่าง ๆ ในเอเชียอาคเนย์ คือ เวียตนาม เมียนมาร์ ลาว และประเทศไทย ชาวเขาเผ่าแม้วที่อยู่ในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ แม้วขาว และแม้วเขียว การแบ่งชื่อกลุ่มย่อยดังกล่าว แบ่งตามการเรียกชื่อของเขาเอง กล่าวคือ แม้วขาวเรียกตัวเองว่า "ฮม้ง เต๊อว์" และแม้วเขียวเรียกตนเองว่า "ฮม้ง จั๊ว" การเรียกชื่อกลุ่มย่อยแม้วเขียวในประเทศไทยมีขื่อเรียกโดยคนต่าง ๆ เผ่าว่า "แม้วน้ำเงิน" "แม้วลาย" "แม้วดอก" "แม้วดำ" ซึ่งชื่อเหล่านี้ต่างหมายถึง "แม้วเขียว" ทั้งสิ้น แต่ชื่อที่นิยมใช้เรียกกลุ่มนี้มีมากที่สุดคือ "แม้วน้ำเงิน" นักภาษาศาสตร์ได้จัดแม้วให้อยู่ในตระกูลภาษาแม้ว-เย้า ในกลุ่มภาษจีน-ธิเบต อย่างไรก็ดี ความเห้นในการจัดกลุ่มดังกล่าวเป็นเพียงความเห็นหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับกันแพร่หลายเท่านั้น ซึ่งถ้าพิจารณาในแง่ของการพัฒนาแล้ว จะเห็นได้ว่าความรู้ที่ได้จากากรจัดกลุ่มภาษานั้น อาจใช้ประโยชน์ได้น้อยในทางปฏิบัติ

เย้า

เย้าอาศัยอยู่ใน 9 จังหวัด 44 อำเภอ 195 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 9,501 หลังคาเรือน ประชากรรวม 48,357 คน ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทาง ตะวันออก ของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมา ทางใต้ เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยาและน่านรวมทั้งในจังหวัด กำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย การแต่งกายของชาวเมี่ยน ผู้หญิงนุ่งกางเกงด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ด้านหน้าจะปักลวดลาย ใส่เสื้อคลุมสีดำยาวถึงข้อเท้า ผ่าด้านหน้าตลอดติดไหมพรมสีแดงที่อกเสื้อรอบคอลงมาถึงหน้าท้อง ผ่าด้านข้าง อกเสื้อกลัดติดด้วยแผ่นเงินสี่เหลี่ยม ทาผมด้วยขี้ผึ้ง พันด้วยผ้าสีแดง และพันทับด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงสีดำขายาว ขลิบขอบขากางเกงด้วยไหมสีแดง สวมเสื้อดำ อกไขว้แบบเสื้อคนจีน ติดกระดุมคอและรักแร้เป็นแนวลงไปถึงเอว เสื้อยาวคลุมเอว ปัจจุบันชาวเมี่ยนเริ่มแต่งกายคล้ายคนไทยพื้นราบมากขึ้น อาวุธของเมี่ยนได้แก่ ปืนคาบศิลา ทำเอง ใช้คันร่มเป็นลำกล้องปืน

อีก้อ


อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า "อาข่า" คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า "อีก้อ" หรือ "ข่าก้อ" ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือเรียกอีก้อว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี" หรือ "ฮานี" ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย นักมานุษยวิทยาและนักภาษาศาสตร์บางท่านได้จัดอีก้ออยู่ในตระกูลภาษาจีน - ธิเบต กลุ่มภาษาย่อยธิเบต-พม่า ในจีนตอนใต้พบว่าอีก้ออาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปปะปนกับชาวจีน หมู่บ้านอีก้อบางแห่งเป็นสังคมผสมระหว่างอีก้อกับจีน ทั้งนี้เกิดจากผู้ชายจีนไปแต่งงานกับหญิงสาวอีก้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นสิบสองปันนาและไกวเจา แต่เดิมอีก้อมีอาณาจักรอิสระของตนเองอยู่บริเวณต้นแม่น้ำไท้ฮั้วสุย หรือแม่น้ำดอกท้อในแคว้นธิเบต อีก้อและเผ่าอื่น ๆ อีกหลายเผ่าได้อพยพมาทางตอนใต้อีกแล้วกระจัดกระจายเข้าไปยังแคว้นเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเมียนมาร์ ในแคว้นหัวโขงภาคตะวันตกและแคว้นพงสาลีภาคใต้ของลาว และในจังหวัดเชียงรายตอนเหนือสุดของประเทศไทย *จังหวัดเชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ กำแพงเพชร ตาก ของประเทศไทย

กะเหรี่ยงคอยาว


ปาดอง หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า กะเหรี่ยงคอยาว เป็นกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรัฐคะยาประเทศเมียนมาร์ (พม่า) บริเวณที่ราบสูงตอเหนือแม่น้ำสาละวินทิศตะวันออกของเมียนมาร์ติดชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย มีประชากรประมาณ 30,000 คน ปาดองเรียกตนเองว่า แลเคอ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า The long neck, Giraffe-necked women หรือ The Giraffe women ในปี ค.ศ. 1922 Marshall ได้จัดกลุ่มกะเหรี่ยงในประเทศเมียนมาร์ออกเป็น 3 กลุ่ม และได้จัดปาดองไว้ในกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยงบเว

ที่มา

http://www.photoontour.com/Portraits_HTML/karen_hilltribe.htm

http://www.destinythai.com/index.php?

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

อาหารทางภาคเหนือ

แกงโฮะ

แกงโฮะ คำว่า “โฮะ” แปลว่า รวม คือการนำเอาอาหารหลายๆ อย่างมารวมกัน ในสมัยก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารที่เหลือหลายๆ อย่างรวมกัน โดยอาจมีการปรุงรสตามใจชอบ หรือ เติมบางอย่าง เช่น วุ้นเส้น หน่อไม้ และแต่งกลิ่นโดยใส่ใบมะกรูด ตะไคร้ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 490) ปัจจุบัน นิยมใช้ของสดในการปรุง และใช้แกงฮังเลเป็นเครื่องปรุง (ดีกิจ กัณทะกาลังค์, สัมภาษณ์, 20 มิถุนายน 2550)


ส่วนผสม
1. วุ้นเส้น 100 กรัม
2. หน่อไม้ดอง 50 กรัม
3. ถั่วฝักยาว20 กรัม
4. มะเขือพวง20 กรัม
5. มะเขือเปราะ20 กรัม
6. ตำลึง10 กรัม
7. พริกขี้หนู5 เม็ด
8. ตะไคร้หั่น 1 ต้น
9. ใบมะกรูด 5 ใบ
10. ต้นหอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ
11. ผักชีซอย 1 ช้อนโต๊ะ
12. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
13. กะทิ 2 ช้อนโต๊ะ
14. แกงฮังเล 150 กรัม
15. ผงฮังเล 1/2 ช้อนชา


เครื่องแกง
1. พริกแห้ง 7 เม็ด
2. พริกขี้หนูแห้ง 4 เม็ด
3. หอมแดง3 หัว
4. กระเทียม 10 กลีบ
5. ตะไคร้ซอย 2 ช้อนโต๊ะ
6. ข่าซอย 1/2 ช้อนโต๊ะ
7. กะปิหยาบ 1/2 ช้อนโต๊ะ
8. เกลือ 1 ช้อนชา


วิธีทำ

1. ล้างหมู ไก่ หั่นชิ้นบาง ล้างมะเขือพวง มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว และมะเขือยาว หั่นถั่วฝักยาวเป็นท่อน ½ นิ้ว แล้วจึงผ่าครึ่ง มะเขือเปราะผ่าสี่
2. ใส่น้ำมันในกระทะ ตั้งไฟให้ร้อน ใส่เครื่องแกงผัดให้หอม ใส่หมู ไก่ ผัดให้เข้ากัน ใส่หน่อไม้เปรี้ยว ใช้ไฟอ่อน เคี่ยวสักครู่ ใส่วุ้นเส้นผัดให้เข้ากัน
3. ใส่มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว มะเขือยาว มะเขือพวง คนให้เข้ากัน ใส่ตำลึง ผัดต่อ ใส่ผักชี ต้นหอม ผักชีฝรั่ง ผัดให้ทั่ว
4. จัดใส่จาน โรยใบสะระแหน่ วางพริกขี้หนูทอดด้านข้าง รับประทานกับใบโหระพา แตงกวาหั่นเป็นแว่น



คั่วจิ๊มส้ม

คั่วจิ๊นส้ม หรือคั่วแหนม หรือผัดแหนม นิยมผัดใส่ไข่ไก่ และวุ้นเส้น ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ มักนิยมผัดใส่บ่าลิดไม้ หรือผัดแหนมใส่ฝักเพกาอ่อนย่างไฟ ซึ่งนำลอกเปลือกออก และหั่นย่อย (รัตนา ไชยนันท์, สัมภาษณ์, 28 มิถุนยน 2550; รัตนา พรหมพิชัย, 1999, หน้า 647)


ส่วนผสม
1.จิ๊นส้ม 100กรัม
2.วุ้นเส้น 1/2ถ้วย
3.ไข่ไก่ 2ฟอง
4.หอมหัวใหญ่1หัว
5.ต้นหอม2ต้น
6.พริกชี้ฟ้าแดง 1เม็ด
7.กระเทียมดอง 2หัว
8.กระเทียมสับ1ช้อนโต๊ะ
9.น้ำมันพืช 2ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ

1. เจียวกระเทียมกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่แหนม ลงผัด
2. ใส่หอมหัวใหญ่ ผัดให้เข้ากัน
3. ใส่วุ้นเส้น ผัดจนวุ้นเส้นสุก
4. ใส่ไข่ไก่ ผัดให้เข้ากัน
5. ใส่พริกชี้ฟ้า ต้นหอม มะเขือเทศ และกระเทียมดอง ผัดให้เข้ากัน พอสุก ปิดไฟ




น้ำปู



น้ำปู อ่านว่า น้ำปู๋ เป็นอาหารดั้งเดิมของชาวล้านนา ใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารบางอย่าง เช่นเดียวกับกะปิ โดยมากจะทำน้ำปูในช่วงฤดูฝน หรือฤดูทำนา ชาวล้านนา นิยมนำน้ำปูมาตำน้ำพริก เรียกว่า น้ำพริกน้ำปู ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร เช่น ยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ตำส้มโอ ตำกระท้อน (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 3247)

ส่วนผสม
1.ปูนา3กิโลกรัม
2.ใบตะไคร้ซอย2ต้น
3.ใบขมิ้นซอย1ถ้วย
4.เกลือเม็ด 1ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. โขลกใบขมิ้นและใบตะไคร้
2. ล้างปูนาให้สะอาด โขลกรวมกันให้ละเอียด
3. นำปูที่โขลกแล้วละลายน้ำ กรองเอาแต่น้ำปู
4. เคี่ยวน้ำปูโดยใช้ไฟอ่อน ประมาณ 8 ชั่วโมง จะได้น้ำปูข้นเหนียว เป็นสีดำ

จอผักกาด

จอผักกาด เป็นตำรับอาหารที่ใช้ผักกาดกวางตุ้งที่กำลังออกดอก หรือเรียกว่า ผักกาดจ้อน หรือผักกาดดอก ซึ่งปรุงด้วย เกลือ กะปิ ปลาร้าหรือกะปิ ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียกหรือมะขามสด ใส่กระดูกหมูด้วยก็ได้ ซึ่งบางแห่งนิยมใส่น้ำอ้อย ลงไปด้วย บางสูตรใส่ถั่วเน่าแข็บ หรือถั่วเน่าแผ่นย่างไฟ นิยมรับประทานกับพริกแห้งทอด ตัดเป็นท่อน โรยหน้าแกง หรือรับประทานต่างหาก แล้วแต่ชอบ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1790 ; อัมพร โมฬีพันธ์, 2550, สัมภาษณ์

ส่วนผสม
1.ผักกาดกวางตุ้ง1กิโลกรัม
2.ซี่โครงหมู400กรัม
3.หอมแดง5หัว
4.กระเทียม10กลีบ
5.ถั่วเน่าแข็บย่างไฟ2แผ่น
6.กะปิ2ช้อนโต๊ะ
7.น้ำมะขามเปียก3ช้อนโต๊ะ
8.เกลือป่น1ช้อนชา
9.น้ำมันพืช2ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. ต้มน้ำเปล่า พอเดือด ใส่ซี่โครงหมูสับ ต้มจนกระทั่งหมูนุ่ม
2. โขลกกระเทียม หอมแดง กะปิ เกลือ รวมกันให้ละเอียด ใส่ลงในหม้อต้มซี่โครงหมู
3. พอเดือด ใส่ผักกวางตุ้งเด็ดเป็นท่อน
4. พอผักนุ่ม ใส่ถั่วเน่าแผ่นโขลกละเอียด
5. ใส่น้ำมะขามเปียก คนให้ทั่ว พอเดือด ปิดไฟ
6. ตั้งกระทะใส่น้ำมัน พอร้อน ใส่พริกขี้หนูแห้งลงทอด พอกรอบ ตักขึ้น ใส่กระเทียมสับ เจียวให้เหลือง เททั้งกระเทียมเจียวและน้ำมัน ใส่หม้อจอผักกาด (จ่าว) คนให้เข้ากัน

เจียวผักโขม


เจียวผักโขม หรือ เจี๋ยวผักหม บางสูตรนิยมใส่ไข่เป็ดหรือไข่ไก่ ตีให้กระจาย ใส่ลงไปในน้ำแกงขณะเดือดด้วย บางสูตรนิยมใส่เฉพาะปลาร้าต้มสุก กินกับพริกหนุ่มสด หรือพริกหนุ่มย่างไฟ แล้วแกะเปลือกใส่ลงไปทั้งเม็ด (ศรีวรรณ จำรัส, สัมภาษณ์, 14 มิถุนายน 2550)

ส่วนผสม
1.ผักโขม100กรัม
2.กระเทียมสับ1ช้อนโต๊ะ
3.หอมแดงซอย1ช้อนโต๊ะ
4.กะปิ1/2ช้อนโต๊ะ
5.ปลาร้าต้มสุก1/2ช้อนโต๊ะ
6.เกลือ1/4ช้อนชา


วิธีทำ

1. ต้มน้ำ พอเดือด ใส่กะปิ น้ำปลาร้า เกลือ กระเทียมสับ และหอมแดงซอย
2. พอน้ำเดือด ใส่ผักโขม คนให้เข้ากัน
3. พอผักสุก ปิดไฟ

ยำปลาจ่อม


ปลาจ่อม คือปลาตัวเล็ก นิยมใช้ปลาซิว ที่ชาวล้านนาเรียกว่า ปลาซิวอ้าว เป็นส่วนผสมหลัก เมื่อดองแล้ว นำมาประกอบอาหารด้วยวิธีการยำ หรือรับประทานกับมะม่วงดิบ ส้มโอ มะละกอดิบ (นงเยาว์ วิริยะ, สัมภาษณ์, 2 กรกฎาคม 2550)

ส่วนผสม
1.ปลาซิว 500กรัม
2.ดินประสิว 1ก้อน
3.เกลือเม็ด1ช้อนโต๊ะ
4.ตะไคร้ซอย2ช้อนโต๊ะ
5.หอมแดงซอย10หัว
6.กระเทียมซอย10กลีบ
7.พริกแห้งย่างไฟ10เม็ด
8.มะเขือเปราะซอย5ลูก
9.ผักชีซอย1ช้อนโต๊ะ
10.ต้นหอมซอย1ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. วิธีการดองปลา นำปลาซิวมาล้างให้สะอาด หมักด้วยเกลือ และดินประสิว
2. บรรจุลงไปในขวดแก้วที่แห้ง และสะอาด หมักไว้ประมาณ 15 วัน ปิดฝาขวดให้สนิท
3. วิธีการยำ ใส่หอมแดง ตะไคร้ มะเขือเปราะ และกระเทียมซอย ลงไปใสชามปลาจ่อม คลุกเคล้าเบาๆ ให้เข้ากัน
4. ขยี้พริกแห้ง ใส่ลงไป ห้ามโขลก คลุกเคล้าให้เข้ากัน
5. โรยด้วยผักชีต้นหอม

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

การแสดงทางภาคเหนือ

ภาคเหนือ


จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า มีทรัพยากรมากมาย มีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม รวมทั้งกิริยา การพูดจา มีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย การแสดงของภาคเหนือเรียกว่า ฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น ภาคเหนือนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ

นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง) ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น

ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือ นอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา)เป็นต้น

ฟ้อนสาวไหม




ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและรวดเร็ว (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก)ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่ารำขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของบิดา ท่ารำนี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกันในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวังของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ได้ขัดเกลาท่ารำขึ้นใหม่ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 คณะอาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ได้คิดท่ารำขึ้นมาเป็นแบบฉบับของวิทยาลัยเองดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมนำมาแสดง จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลงปราสาทไหว ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมา คณะครูนาฎศิลป์จึงได้เลือกสรรโดยใช้เพลง "ซอปั่นฝ้าย" ซึ่งมีท่วงทำนองเป็นเพลงซอทำนองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน และมีลีลาที่สอดคล้องกับท่ารำ การแต่งกาย แต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอกห่มสไบทับ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้


ฟ้อนผาง




เป็นศิลปะการฟ้อนที่มีมาแต่โบราณ เป็นการฟ้อนเพื่อบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ลีลาการฟ้อนดำเนินไปตามจังหวะของการตีกลองสะบัดชัย มือทั้งสองจะถือประทีปหรือผางผะตี้บ แต่เดิมใช้ผู้ชายแสดง ต่อมานายเจริญ จันทร์เพื่อน ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ดำริให้คณะครูอาจารย์หมวดวิชานาฏศิลป์พื้นเมืองเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำให้เหมาะสมกับผู้หญิงแสดง โดยได้รับความอนุเคราะห์จากนายมานพ ยาระณะ ศิลปินพื้นบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดท่าฟ้อนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่ารำโดยมีนายปรีชา งามระเบียบอาจารย์ 2 ระดับ 7รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่(ฝ่ายกิจกรรม) เป็นผู้ควบคุมการประดิษฐ์ท่ารำ การแต่งกายและทำนองเพลง ลักษณะการแต่งกายแต่งแบบชาวไทยลื้อ สวมเสื้อป้ายทับข้าง เรียกว่า “เสื้อปั๊ด” หรือ “เสื้อปั๊ดข้าง” ขลิบริมด้วยผ้าหลากสีเป็นริ้ว นุ่งผ้าซิ่นเป็นริ้วลายขวาง ประดับด้วยแผ่นเงิน รัดเข็มขัดเงินเส้นใหญ่ ติดพู่แผงเงิน ใส่ต่างหูเงินและสวมกำไลข้อมือเงินสำหรับทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงชุดฟ้อนผางให้ชื่อว่า “เพลงฟ้อนผาง” แต่งโดยนายรักเกียรติ ปัญญายศ อาจารย์ 3 ระดับ 8 หมวดวิชาเครื่องสายไทย วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

ฟ้อนแพน



ฟ้อนแฟนหรือลาวแพนซึ่งเป็นชื่อเพลงดนตรีไทยในจำพวกเพลงเดี่ยว ซึ่งนักดนตรีใช้เป็นเพลงสำหรับเดี่ยวอวดฝีมือในทางดุริยางคศิลป์เช่นเดียวกับเพลงเดี่ยวอื่นๆ แต่เดี่ยวลาวแพนนี้มีเครื่องดนตรีเหมาะสมแก่ทำนองจริง ๆ อยู่เพียง 2 อย่างคือจะเข้และปี่ในเท่านั้น ส่วนเครื่องดนตรีอื่นก็ทำได้น่าฟังเหมือนกัน แต่ก็ไม่มีเสน่ห์เท่าจะเข้และปี่ใน เพลงนี้บางทีเรียกกันว่า "ลาวแคน"การประดิษฐ์ท่ารำที่พบหลักฐานนำมาใช้ในละคร เรื่อง พระลอ พระราชนิพนธ์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตอนพระลอลงสรงในแม่น้ำกาหลง ท่ารำได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยเค้าท่าฟ้อนของภาคเหนือและภาคอีสานเป็นแบบอย่าง และดัดแปลงให้เหมาะสมกลมกลืนกับทำนองเพลง การฟ้อนลาวแพนในละครเรื่องพระลอเป็นการฟ้อนเดี่ยว ต่อมาจึงมีผู้นำเอาไปใช้ในการฟ้อนหมู่ โดยเอาท่าฟ้อนเดี่ยวมาดัดแปลงเพิ่มเติมแก้ไขให้เหมาะสมกับการรำหลาย ๆ คน ปัจจุบันการฟ้อนลาวแพนมีทั้งการแสดงที่เป็นหญิงล้วนและชายหญิง บางโอกาสยังเพิ่มเติมแต่งบทร้องประกอบการแสดงได้อีกด้วย

ระบำซอ



เป็นฟ้อนประดิษฐ์ของ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระราชชายาของรัชกาลที่ 5 เป็นการผสมผสานการแสดงบัลเล่ต์ของทางตะวันตกกับการฟ้อนแบบพื้นเมือง ใช้การแต่งกายแบบหญิงชาวกะเหรี่ยง โดยมีความหมายว่า ชาวเขาก็มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ไทย ใช้เพลงทางดนตรีไทย หลายเพลงประกอบการแสดง เช่น เพลงลาวจ้อย ต้อยตลิ่ง ลาวกระแต ลาวดวงดอกไม้ ลาวกระแซ มีคำร้องทำนองซอยิ้นที่แต่งเป็นคำสรรเสริญ ใช้แสดงในการสมโภชช้างเผือกของรัชกาลที่ 7ครั้งเมื่อเสด็จเลียบมณฑลพายัพ ปัจจุบันได้มีการลดจำนวนนักแสดงลงและตัดเพลงบางท่อนออกเพื่อให้เหมาะสมในการแสดงในโอกาสต่างๆ

ระบำชาวเขา



เป็นการแสดงของชาวเขาเผ่าลิซู หรือลีซอโดยเป็นระบำชุดที่ใช้แสดงในงานรื่นเริงต่าง ๆ ชุดที่ใช้ได้รับการประยุกต์มาจากเครื่องแต่งกายที่ชาวเผ่าลิซูใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงคือ ขลุ่ยไม้ไผ่ สะล้อ และพิณ

ฟ้อนขันดอก



เป็นฟ้อนประดิษฐ์ใหม่ มีลีลาท่าฟ้อนได้มาจากการใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ปัจจุบันฟ้อนชนิดนี้ใช้ฟ้อนในงานพิธีมงคล เพลงที่ใช้ในการประกอบการแสดงใช้เพลงกุหลาบเชียงใหม่ ลีลาท่าฟ้อนอ่อนช้อยเข้ากับความอ่อนหวานของท่วงทำนองเพลง

ฟ้อนที

คำว่า “ที” หมายถึง “ร่ม” เป็นคำภาษา “ไต” ใช้เรียกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน “ที” ทางภาคเหนือมีลักษณะและรูปทรงแตกต่างกันไปแต่ละจังหวัด “ที” ที่ชาวแม่ฮ่องสอนนิยมใช้มีรูปทรงสวยนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการรำได้ฟ้อนทีเป็นผลงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ จัดแสดงในงานนิทรรศการและการแสดงศิลปวัฒนธรรมของสถานศึกษาในสังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร เพื่อเทิดพระเกียติมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ การแสดงชุดนี้นำร่มมาใช้ประกอบลีลานาฎศิลป์โดยมีท่าฟ้อนเหนือของเชียงใหม่ผสมกับท่ารำไตของแม่ฮ่องสอน มีการแปรแถว และลีลาการใช้ร่มในลักษณะต่าง ๆ ที่งดงาม เช่น การถือร่ม การกางร่ม การหุบร่ม เป็นต้น ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้ดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือประสมวง ได้แก่ สะล้อกลาง สะล้อเล็ก ซึ่งใหญ่ ซึงกลาง ซึงเล็ก ขลุ่ย กรับคู่ กลองพื้นเมือง การแต่งกาย มุ่งเน้นความสวยงามของเครื่องแต่งกายตามประเพณีนิยมภาคเหนือ แบ่งเป็น ๒ แบบ คือ แบบหญิงไทลื้อ และแบบหญิงล้านนาแบบไทลื้อ นุ่งซิ่นลายขวาง เสื้อปั๊ด เกล้าผมสูงประดับดอกไม้เงิน ผ้าเคียนศีรษะประดับกำไลข้อมือ ต่างหูแบบล้านนา นุ่งซิ่นตีนจก ผ้าคาดเอว เสื้อเข้ารูปแขนยาว เกล้าผมมวยตั้งกระบังผมหน้าสูง ประดับดอกไม้เงิน เครื่องประดับมีเข็มขัด กำไลข้อมือ สร้อยคอ ต่างหูการแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที

กลองสะบัดชัย



การตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศรีษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ


การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ปฏิทิน

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้