ภาษาทางภาคเหนือ


คำเมือง (
กำเมือง; คำหรือกำ แปลว่า ภาษา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ภาษาถิ่นพายัพ" เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของ จังหวัดตาก และ เพชรบูรณ์อีกด้วย

นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของ
คนไทยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย

ภาษาคำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัด
เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน(มีเสียงเอือะ และเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป๊นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)
คนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียง
เมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์

คำเมืองมี
ไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้ คู่กับ ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่อักษรมอญใช้เป็นต้นแบบ





  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

0 Response to "ภาษาทางภาคเหนือ"

แสดงความคิดเห็น

ปฏิทิน

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้