ชนเผ่าพื้นเมืองทางภาคเหนือ

แม้ว

แม้วเป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศจีนและประเทศต่าง ๆ ในเอเชียอาคเนย์ คือ เวียตนาม เมียนมาร์ ลาว และประเทศไทย ชาวเขาเผ่าแม้วที่อยู่ในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ แม้วขาว และแม้วเขียว การแบ่งชื่อกลุ่มย่อยดังกล่าว แบ่งตามการเรียกชื่อของเขาเอง กล่าวคือ แม้วขาวเรียกตัวเองว่า "ฮม้ง เต๊อว์" และแม้วเขียวเรียกตนเองว่า "ฮม้ง จั๊ว" การเรียกชื่อกลุ่มย่อยแม้วเขียวในประเทศไทยมีขื่อเรียกโดยคนต่าง ๆ เผ่าว่า "แม้วน้ำเงิน" "แม้วลาย" "แม้วดอก" "แม้วดำ" ซึ่งชื่อเหล่านี้ต่างหมายถึง "แม้วเขียว" ทั้งสิ้น แต่ชื่อที่นิยมใช้เรียกกลุ่มนี้มีมากที่สุดคือ "แม้วน้ำเงิน" นักภาษาศาสตร์ได้จัดแม้วให้อยู่ในตระกูลภาษาแม้ว-เย้า ในกลุ่มภาษจีน-ธิเบต อย่างไรก็ดี ความเห้นในการจัดกลุ่มดังกล่าวเป็นเพียงความเห็นหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับกันแพร่หลายเท่านั้น ซึ่งถ้าพิจารณาในแง่ของการพัฒนาแล้ว จะเห็นได้ว่าความรู้ที่ได้จากากรจัดกลุ่มภาษานั้น อาจใช้ประโยชน์ได้น้อยในทางปฏิบัติ

เย้า

เย้าอาศัยอยู่ใน 9 จังหวัด 44 อำเภอ 195 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 9,501 หลังคาเรือน ประชากรรวม 48,357 คน ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทาง ตะวันออก ของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมา ทางใต้ เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยาและน่านรวมทั้งในจังหวัด กำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย การแต่งกายของชาวเมี่ยน ผู้หญิงนุ่งกางเกงด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ด้านหน้าจะปักลวดลาย ใส่เสื้อคลุมสีดำยาวถึงข้อเท้า ผ่าด้านหน้าตลอดติดไหมพรมสีแดงที่อกเสื้อรอบคอลงมาถึงหน้าท้อง ผ่าด้านข้าง อกเสื้อกลัดติดด้วยแผ่นเงินสี่เหลี่ยม ทาผมด้วยขี้ผึ้ง พันด้วยผ้าสีแดง และพันทับด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงสีดำขายาว ขลิบขอบขากางเกงด้วยไหมสีแดง สวมเสื้อดำ อกไขว้แบบเสื้อคนจีน ติดกระดุมคอและรักแร้เป็นแนวลงไปถึงเอว เสื้อยาวคลุมเอว ปัจจุบันชาวเมี่ยนเริ่มแต่งกายคล้ายคนไทยพื้นราบมากขึ้น อาวุธของเมี่ยนได้แก่ ปืนคาบศิลา ทำเอง ใช้คันร่มเป็นลำกล้องปืน

อีก้อ


อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า "อาข่า" คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า "อีก้อ" หรือ "ข่าก้อ" ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือเรียกอีก้อว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี" หรือ "ฮานี" ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย นักมานุษยวิทยาและนักภาษาศาสตร์บางท่านได้จัดอีก้ออยู่ในตระกูลภาษาจีน - ธิเบต กลุ่มภาษาย่อยธิเบต-พม่า ในจีนตอนใต้พบว่าอีก้ออาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปปะปนกับชาวจีน หมู่บ้านอีก้อบางแห่งเป็นสังคมผสมระหว่างอีก้อกับจีน ทั้งนี้เกิดจากผู้ชายจีนไปแต่งงานกับหญิงสาวอีก้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นสิบสองปันนาและไกวเจา แต่เดิมอีก้อมีอาณาจักรอิสระของตนเองอยู่บริเวณต้นแม่น้ำไท้ฮั้วสุย หรือแม่น้ำดอกท้อในแคว้นธิเบต อีก้อและเผ่าอื่น ๆ อีกหลายเผ่าได้อพยพมาทางตอนใต้อีกแล้วกระจัดกระจายเข้าไปยังแคว้นเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเมียนมาร์ ในแคว้นหัวโขงภาคตะวันตกและแคว้นพงสาลีภาคใต้ของลาว และในจังหวัดเชียงรายตอนเหนือสุดของประเทศไทย *จังหวัดเชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ กำแพงเพชร ตาก ของประเทศไทย

กะเหรี่ยงคอยาว


ปาดอง หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า กะเหรี่ยงคอยาว เป็นกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรัฐคะยาประเทศเมียนมาร์ (พม่า) บริเวณที่ราบสูงตอเหนือแม่น้ำสาละวินทิศตะวันออกของเมียนมาร์ติดชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย มีประชากรประมาณ 30,000 คน ปาดองเรียกตนเองว่า แลเคอ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า The long neck, Giraffe-necked women หรือ The Giraffe women ในปี ค.ศ. 1922 Marshall ได้จัดกลุ่มกะเหรี่ยงในประเทศเมียนมาร์ออกเป็น 3 กลุ่ม และได้จัดปาดองไว้ในกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยงบเว

ที่มา

http://www.photoontour.com/Portraits_HTML/karen_hilltribe.htm

http://www.destinythai.com/index.php?

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

0 Response to "ชนเผ่าพื้นเมืองทางภาคเหนือ"

แสดงความคิดเห็น

ปฏิทิน

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้